หลายคนคงจะเคยได้ยินกันมาบ้างว่า โบท็อกซ์ ช่วยให้ใบหน้าเรียวเล็ก ดูอ่อนวัย และลดริ้วรอย แต่รู้หรือไม่ว่า โบท็อกซ์ ยังมีประโยชน์นอกเหนือจากความงามอีกด้วย คือช่วยในการรักษาโรคบางประเภท ทั้งนี้ จะต้องหาข้อมูล และศึกษาให้ครบถ้วน เพื่อให้มั่นใจว่าเป็นการฉีดที่ปลอดภัย และได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ
โบท็อกซ์คืออะไร?
- โบท็อกซ์ (Botox) ชื่อทางการค้าของสารที่ได้จาก บทูลินั่ม ท็อกซิน ชนิดเอ
- เป็นสารที่สกัดจากแบคทีเรีย Clostridium botulinum
- สารนี้จะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท มีผลทำให้มัดกล้ามเนื้อทำงานได้ลดลงชั่วคราว เป็นวิธีที่ใช้ในวงการเสริมความงามมานานหลายปี
ประโยชน์ของ Botox
การรักษาด้านความงาม
สามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการคลายตัว ขยับได้น้อยลง ช่วยลดริ้วรอยบนหน้าผาก รอยย่นระหว่างคิ้ว และรอยย่นรอบดวงตา ปรับรูปหน้า เช่น การยกแก้ม การลดขนาดกล้ามเนื้อ ยกกระชับผิวบริเวณกรอบหน้า
การรักษาโรค
ช่วยลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ใช้รักษาอาการปวดต่าง ๆ เช่น ปวดหัว ปวดหลังของผู้ป่วยบางกลุ่ม คลายการเกร็งของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ลดเหงื่อที่ผิวหนัง เช่น ใต้รักแร้ และฝ่ามือ เป็นต้น
การฉีดโบท็อกซ์
วิธีการฉีด
การฉีดโบท็อกซ์ ควรดำเนินการโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และได้รับการอบรมเป็นอย่างดีทำเท่านั้น เนื่องจากต้องใช้ความชำนาญในการระบุตำแหน่งฉีดที่ถูกต้อง ปริมาณคร่าว ๆ ที่ใช้ในแต่ละจุดมี ดังนี้
- โบท็อกหางตา ใช้ประมาณ 12-16 ยูนิต
- โบท็อกลดปีกจมูก ใช้ประมาณ 4-6 ยูนิต
- โบท็อกลิฟต์กรอบหน้า ใช้ประมาณ 30-50 นิต
- โบท็อกกราม ใช้ประมาณ 25-30 ยูนิต ต่อข้าง
- โบท็อกหน้าผาก ใช้ประมาณ 12-20 ยูนิต
- โบท็อกหว่างคิ้ว ใช้ประมาณ 6-15 ยูนิต
ระยะเวลาของผลลัพธ์
มักจะเริ่มเริ่มเห็นผลภายใน 3-7 วัน หลังการฉีด และอยู่ได้ประมาณ 3-6 เดือน แตกต่างไปตามบุคคล แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำให้รออย่างน้อย 3-6 เดือน หรือจนกว่าการฉีดครั้งก่อนหน้าจะเริ่มสลายตัว ก่อนที่จะทำการฉีดเติม
วิธีการดูแลหลังฉีด
หลังจากการฉีด หลีกเลี่ยงการนอนตะแคง การกดหรือการนวดบริเวณที่ฉีด และหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย 24 ชั่วโมงหลังการฉีด
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการฉีดโบท็อกซ์
บางคนอาจเกิดผลข้างเคียง เช่น อาการบวม แดง รู้สึกเจ็บปวด เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือการเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกทางหน้า ในกรณีที่ไม่คาดคิด โบท็อกซ์อาจกระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และทำให้เกิดผลข้างเคียง การฉีดโบท็อกซ์เกินขนาด อาจทำให้ใบหน้าดูไม่เป็นธรรมชาติ
การฉีดในจุดที่ไม่ถูกต้อง สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างที่ไม่ต้องการ ผู้แพ้สารที่อยู่ในโบท็อกซ์ควรหลีกเลี่ยงการฉีด ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการฉีด หญิงที่ตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมไม่ควรฉีดโบท็อกซ์ โบท็อกซ์ไม่เหมาะสำหรับเด็ก และวัยรุ่นที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี การฉีดโบท็อกซ์บ่อยเกินไปทำให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน การฉีดครั้งถัดไปอาจไม่ได้ผล
ข้อสรุปสำคัญ
การฉีดโบท็อกซ์ แม้จะเป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับ แต่ก็ยังมีข้อควรระวัง และความเสี่ยงเกี่ยวกับการฉีด ควรทำโดยแพทย์ที่มีประสบการณ์และความรู้เฉพาะทาง การตรวจสอบประวัติการรักษาก่อนฉีดเป็นสิ่งที่สำคัญ และจะต้องพิจารณาข้อมูลให้เพียงพอก่อนการตัดสินใจ